ข่าวประชาสัมพันธ/zLyH]bdfexybifh/
นับเป็นนิมิตหมายที่ดีอีกครั้งที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เรื่องการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ลงนามวันที่3 สิงหาคม 2553 ได้แสดงให้เห็นถึงการเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงของภาครัฐ
กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณแนวเทือกเขาตะนาวศรี ตั้งแต่ภาคเหนือ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำพูน เรื่อยมาทางตะวันตกได้แก่ตาก อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี จนถึงประจวบคีรีขันธ์ สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีประชากรชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ประมาณ350,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มสะกอ เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด กลุ่มโปว์ เรียกตัวเองว่า โผล่ว กลุ่มปะโอหรือตองสู และกลุ่ม บะเว หรือคะยา
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเล็กๆ อีก2 กลุ่ม คือ ปาดอง(กะเหรี่ยงคอยาว) และ กะยอ (กะเหรี่ยงหูยาว)
ด้วยปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนลงมาถึงจังหวัดราชบุรีต่างได้รับความเดือดร้อนใน ปัญหาต่างๆ ที่สะสมมายาวนานเกี่ยวกับความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตแบบกะเหรี่ยงซึ่งครอบคลุม ถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยการทำไร่หมุนเวียน การผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง การให้คุณค่ากับป่า วิธีคิดในเรื่องสิทธิ (ที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์) และการที่รัฐไทยยังไม่เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมและภาษาของชาติพันธุ์ชนกถิ่น ต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาประเทศในแบบทุนนิยมที่เน้นการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งลงทุนสูง และเน้นพืชเชิงเดี่ยว กีดกันทางเลือกอื่นๆ เช่น การทำไร่หมุนเวียน ที่ผ่านมาชาวกะเหรี่ยงบางส่วนต้องจำยอมรับวิถีชีวิตแบบใหม่และหลายส่วนยัง เห็นว่าอยู่อย่างกะเหรี่ยงมีคุณค่าต่อชีวิตมากกว่า
กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ให้ยั่งยืนด้วยการบูรณาการดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชนและรากฐานทางวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยงมีความเข้มแข็งทั้งในการดำรง ชีวิตและการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม จนได้จัดทำแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่เสนอ ซึ่งเปรียบเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยงานภาครัฐที่จะให้ความสำคัญกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอย่างจริงจัง
แนวนโยบายดังกล่าวครอบคลุมประเด็นปัญหา5 ประการ คือ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรสิทธิในสัญชาติ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม และการศึกษา โดยมีสาระสำคัญเช่น การส่งเสริมและสนับสนุนชาวกะเหรี่ยงในเรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมกะเหรี่ยงว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒธนธรรมชาติที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมให้มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม
การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม ให้ชุมชนมีส่วนในการกหนดหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและ วัฒนธรรม รวมทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ ดั้งเดิม ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนบนพื้นที่สูง สิทธิในสัญชาติให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติ ไทย (บัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูงและบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูงเดิม) ที่อพยพเข้าตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สามารถขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยและได้ รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ส่วนบุตรที่เกิดในประเทศไทยให้สามารถขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติได้
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆจาก http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=494:seubnews&catid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14
เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2553 | อ่าน 5240
เขียนโดย
เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ KARENTHAI.COM
8 รายการ | 1 1 |