รู้จักศูนย์ฟื้นฟูการศึกษาและวัฒนธรรมชุมชนกะเหรี่ยง

  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • คณะกรรมการ
  • ศูนย์ปฏิบัติการ
  • ติดต่อศูนย์การฟื้นฟูการศึกษาและวัฒนธรรมชุมชนกะเหรี่ยง
    นรพล คงนานดี(ทิวา)
    44 หมู่ 5 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี กาญจนบุรี 71240
    โทร 08 6176 1450

    ความเป็นมา

    ความเป็นมา
     
         ชาวกะเหรี่ยงเป็นมนุษยชาติพันธุ์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิมาเป็นเวลานานแล้ว กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆในหลายประเทศติดต่อกัน และมีชื่อเรียกตามภาษาชาติพันธุ์แตกต่างออกไป ตามภาษาของแต่ละชนชาติ เช่น คนไทยเรียกกะเหรี่ยง คนพม่าเรียกกะหยิ่ง อังกฤษเรียกคาเรน คนจีนเรียกโจว คนไทยเหนือเรียกยาง การเรียกชื่อมนุษยชาติพันธุ์นี้ว่ากะเหรี่ยงเป็นคำเรียกของคนนอกชนชาติตนเอง แต่ในการเรียกชนเผ่าตัวเองนั้น แต่ละตระกูลชาติพันธุ์ก็เรียกตัวเองด้วยสำเนียงว่า กะโผล่ กะญอ ต่องสู่ และแบว เป็นชาติตระกูลเดียวกันคือกะเหรี่ยงที่คนรู้จักกันทั่วไป

         สำหรับประเทศไทยรู้จักกะเหรี่ยงในนามชนกลุ่มน้อยหรือชาวเขาของประเทศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นคนกลุ่ม ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย มานานหลายร้อยปี ดังปรากฏในตำนานหลาย ๆ เรื่องที่กล่าวถึงชนพื้นเมืองดั้งเดิม ทั้งลัวะและยางหรือกะเหรี่ยงในภาคเหนือ ชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มคนที่รักความสงบ ผูกพันกับธรรมชาติและไม่ชอบการต่อสู้หรือความรุนแรง ในอดีตชาวกะเหรี่ยง จึงมักหลีกเลี่ยงที่จะไม่ข้องเกี่ยวกับคนภายนอกชุมชนของตนและมักตั้งหมู่ บ้านอยู่ห่างไกลชุมชนอื่น

         ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้มากในประเทศไทย คือ ภาษากะเหรี่ยงโปวและภาษากะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งแม้จะเป็นกะเหรี่ยงเหมือนกันแต่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ทั้งหมด เพราะทั้งสองภาษามีความ แตกต่างกันในเรื่องระบบเสียงและคำศัพท์ค่อนข้างมาก นักภาษาศาสตร์จึงจัดเป็นคนละภาษา ชาวกะเหรี่ยงแบ่งตามภาษาที่พูดเป็นสี่กลุ่มใหญ่ได้ ๔ กลุ่ม คือ ๑. กะเหรี่ยงโปว ๒. กะเหรี่ยงสะกอ ๓. กะเหรี่ยงบเว เรียกตัวเองว่าคยา หรือ ยางแดง ๔. กะเหรี่ยงพะโอ หรือตองสู่ ตามสันนิษฐานว่าชาวกะเหรี่ยงพูดภาษาตระกูลจีน-ทิเบต

         ในเมืองไทยกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว ในภาคกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดราชบุรีและเพชรบุรีมีชาวกะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มอาศัยอยู่รวมกับคนไทย และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ โดยชาวบ้านเรียกชาวกะเหรี่ยงโปวว่า กะเหรี่ยง แต่เรียกชาวกะเหรี่ยงสะกอว่ากะหร่าง ชาวกะเหรี่ยงยังถูกเรียกขานตามที่ตั้งถิ่นฐาน เช่น ชาวกะเหรี่ยง ในจังหวัดราชบุรี ถูกเรียกว่า “ ยางน้ำ” เนื่องจากตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา มักอยู่เป็นชุมชนหมู่บ้านที่มีประชากรประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ คน ยังเป็นชุมชนที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อยู่มาก หมู่บ้านเหล่านี้ยังพูดภาษากะเหรี่ยงผสมผสานกับภาษาไทยด้วย

         อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกับความเป็นตัวตนบนอัตลักษณ์ที่เป็นอยู่ ไม่ให้ถูกมองว่าเป็น ชาติพันธุ์ที่ไร้ความรู้ความสามารถในการที่จะดำรงไว้ซึ่งคุณงามความดีด้วย ภูมิปัญญาของตนเอง