เรื่องเล่ากะเหรี่ยง/zLyHpAifgzksfC6f];f5jif/
เมื่อเอ่ยถึงกลุ่มชนที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง มีการนำห่วงทองเหลืองมาพันรอบคอ หลายคนคงนึกถึงกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ชื่อ "ปาดอง"
ด้วยความที่มีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายซ่อนเร้นอยู่ในหุบ เขา ทำให้การเดินทางเข้าไปยังถิ่นที่อยู่ของปาดองค่อนข้างยากลำบาก หลังจากที่มีการค้นพบชนกลุ่มนี้เมื่อหลายปีก่อน ทำให้การท่องเที่ยวของแม่ฮ่องสอนคึกคักขึ้นถนัดตา ชื่อเสียงของชนกลุ่มนี้ก็พลอยได้รับความสนใจจากคนภายนอกไปด้วย
มีเรื่องเล่ากันมาแต่โบราณของบรรพบุรุษชาวปาดอง หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" ถึงสาเหตุที่ต้องสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้ที่คอว่า ในอดีตกาลภูตผีและวิญญาณสัตว์ร้าย เกิดความไม่พอใจพวกปาดอง จึงได้ส่งเสือร้ายมากัดกินผู้หญิง บรรพบุรุษของชาวปาดองเกรงว่าผู้หญิงจะตายไปจนสูญพันธุ์หมด จึงแก้ปัญหาด้วยการให้ผู้หญิงใส่เกราะทองเหลืองไว้ที่คอเพื่อป้องกันไม่ให้ เสือมากัดกิน
การดำเนินชีวิตของชาวปาดองเป็นกลุ่มชนที่รักสงบและค่อน ข้างทำงานหนัก ชีวิตความเป็นอยู่เมื่อเทียบกับกะเหรี่ยงในประเทศไทยแล้ว มีความคล้ายคลึงกันมาก งานหลักคือการปลูกข้าวในนาแบบขั้นบันได นอกจากนี้ ชาวบ้านปาดองยังนิยมเลี้ยงหมู ไก่และวัว บ้านของชาวปะดองจะทำด้วยไม้สัก มุงหลังคาด้วยแฝกยกพื้นสูง บริเวณที่อยู่อาศัยในบ้านจะมีที่ตั้งเตาไฟเหมือนบ้านของกะเหรี่ยงสะกอ มีเสื่อสำหรับปูที่นอน ลักษณะของบ้านเมื่อมองจากภายนอกจะเหมือนกับบ้านของกะเหรี่ยงทั่วไป
การดำรงชีวิตทั่วไปก็จะคล้ายกับกลุ่มชนบนภูเขา จะแตกต่างกันเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวเท่า นั้น ซึ่งจะมีระเบียบแบบแผนและใช้เวลาพอสมควร ก็คือ ชายหนุ่มจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิงก่อนและจากนั้น ต้องส่งแม่สื่อไปขความเห็นชอบจากสมาชิกที่เหลือในครอบครัวฝ่ายหญิง
การ แต่งกายของชาวปาดองดูจะเป็นเอกลักษณ์ที่สวยงาม ผู้ชายปาดองจะสวมกางเกงขายาว เสื้อตัวสั้นมีผ้าสำหรับโพกศีรษะ ส่วนผู้หญิงจะแต่งกายด้วยเสื้อสีขาวมีแขนในตัวยาวลงมาถึงสะโพก แล้วสวมเสื้อแขนยาวสีดำทับอีกที ส่วนกระโปรงเป็นสีดำจะพับทบกันด้านหน้ายาวถึงหัวเข่า ผมรวบเกล้ามวยปักปิ่นเงินหรือไม้ยาวๆ หรือใช้หวีเงินอันใหญ่สับไว้แล้วรัดด้วยผ้าสี จุดเด่นที่สุดอยู่ที่การใส่ห่วงทองเหลือง
การใส่ห่วงทองเหลืองของปาดองจะเริ่มใส่ตั้งแต่อายุ ได้ 5-9 ปี โดยผู้ที่เป็นหมอผีประจำหมู่บ้านจะเป็นคนใส่ให้ ก่อนใส่จะต้องมีการเสี่ยงทายโดยการใช้กระดูกไก่ทำนายหาฤกษ์ยามที่ดีที่สุด แต่เดิมผู้ที่จะสวมห่วงทองเหลือง จะต้องเป็นผู้หญิงที่เกิดวันตรงกับวันเพ็ญเท่านั้น และต้องเป็นผู้หญิงที่ไม่มีเชื้อผสมจากเผ่าอื่น ถ้าไม่ยอมสวมห่วงคอก็จะถูกขับไล่ออกจากเผ่าทันที แต่ต่อมาไม่ว่าจะเกิดวันไหนก็จะนิยมใส่ห่วงคอกันหมด
ห่วงที่ใช้สวมคอ แต่เดิมทำมาจากทองคำแท้ แต่ปัจจุบันใช้ทองเหลืองที่นำมาจากเมืองเบลอง ประเทศพม่า ขายเป็นเส้นคิดราคาเป็นกรัม น้ำหนักเมื่อเริ่มสวมครั้งแรกประมาณ 2 กิโลกรัม ถ้าใส่กันเต็มที่จะตกคนละประมาณ 13 - 15 กิโลกรัม ถ้าคิดเป็นเงินแล้วตกประมาณ 6,000 บาทต่อคน
ผู้หญิงปาดองจะถอดห่วงคอตามโอกาสต่างๆปีละครั้งทุกปี เพื่อเปลี่ยนขนาดโดยเพิ่มความยาวของขดทองเหลือง บางแห่งก็ว่าการถอดห่วงเพื่อเปลี่ยนขนาดจะทำทุกๆ 4 ปี ในช่วงชีวิตของปาดองนั้นจะเปลี่ยนขนาดทั้งหมดกัน 9 ครั้ง เวลาถอดห่วงจะเริ่มอ้าตรงปลายแล้วค่อยๆ ถ่างทองเหลืองให้คลายขดออกจนสามารถดึงเอาเส้นทองเหลืองออกจากคอได้ ส่วนวิธีการใส่ จะนำเอาทองเหลืองไปอังไฟและชุบด้วยน้ำมะนาวให้อ่อนแล้วนำมาขดรอบคอ ทบขึ้นไปเป็นวงเหมือน ขดลวดสปริง ห่วงที่เป็นขดจะมีอยู่ 2 ชุด ชุดแรกใส่เป็นฐานอยู่บนไหล่ 5 วง ต่อจากนั้น จะใส่เป็นขดรอบคอขึ้นไปอีก 20 วง ส่วนการดูแลรักษาก็คือ เวลาอาบน้ำจะเอาหญ้าแห้งมาขัดห่วงทองเหลืองที่สวมใส่เพื่อให้เกิดความเงางาม
ปัจจุบันมีปาดองอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านในสอย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้าไปเที่ยวหมู่ บ้านแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
Note : คำว่า “ปาดอง” หมายถึงผู้สวมห่วงทองเหลือง เป็นคำที่ชนเผ่าอื่นใช้เรียกกะเหรี่ยงคอยาว แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า “แลเคอ”
ปา ดองเป็นชนเผ่าที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศพม่า แถบรัฐกะยา และยังพบว่ามีบางกลุ่มอาศัยอยู่ในเมืองปาย เขตรัฐฉาน ตามปกติชาวปาดองจะอาศัยอยู่ตามที่สูงซึ่งมีลักษณะลาดลงมาเป็นขั้นบันได โดยยึดอาชีพหลักคือ ทำนา รวมถึงการปลูกพืชไร่อื่นๆ เช่น ฝ้าย ยาสูบ ฯลฯ
ชาวปาดองที่บ้านในสอยนั้น อพยพมาจากบ้านน้ำเพียงดินเพื่อหนีภัยจากทหารพม่า มีจำนวนกว่า 30 ครอบครัว อาศัยอยู่ปะปนกับกะเหรี่ยงธรรมดา ที่บริเวณทางเข้าหมู่บ้านในสอย จะมีป้ายบอกแผนที่แสดงที่ตั้งของหมู่บ้าน สาวปาดองจะนั่งอยู่ตามหน้าบ้านหรือหน้าร้านขายของที่ระลึกให้แก่นักท่อง เที่ยว นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถเข้าชมและถ่ายรูปฟรีได้ นอกจากนั้นภายในหมู่บ้านยังมีร้านค้า ร้านอาหาร ห้องน้ำ และร้านขายของที่ระลึกไว้บริการนักท่องเที่ยว เช่น ผ้าทอมือ กระเป๋าผ้า เครื่องประดับ ซึ่งสามารถเลือกซื้อไปเป็นของฝากได้
การเดินทางไปบ้านในสอย ใช้ทางหลวงหมายเลข 1095 ผ่าบ้านปางหมู แล้วข้ามสะพานแม่น้ำปาย เลี้ยวซ้ายไปตามถนน รพช.อีก 17 กิโลเมตร บ้านกะเหรี่ยงคอยาวจะอยู่เลยบ้านในสอยไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร
ที่มา : http://www.destinythai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5365831&Ntype=2
เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2553 | อ่าน 6973
เขียนโดย
เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ KARENTHAI.COM